การออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย ที่ดี สามารถลดต้นทุนได้จริงหรือ?


การออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย ที่ดี สามารถลดต้นทุนได้จริงหรือ?

Water Treatment Plant

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน กลับมาพบกับผม Dr.UBA กันอีกครั้ง ซี่งเป็นครั้งแรกของปี 2014 ปีที่ประเทศของเรา กำลังเผชิญกับปัญหาต่างๆมากมาย ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ปัญหาต่างๆเหล่านี้ จะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจของท่านอย่างแน่นอน ซึ่งปีนี้ ต้นทุน ในการดำเนินกิจการสูงขึ้น จาก ราคาวัตถุดิบ ต่างๆ ที่สูงขึ้น ดังนั้น หลายๆบริษัท หลายๆองค์กร ต้องแสวงหาวิธีในการ ลดต้นทุน หรือ ควบคุมค่าใช้จ่าย ไม่ให้สูงขึ้นกว่าที่ควรจะเป็นมากนัก เพื่อให้สามารถแข่งขันทางธุรกิจและรักษาสภาพคล่องของกิจการของท่านได้ วันนี้ ผม Dr.UBA มีบทความที่น่าสนใจ เกี่ยวกับการ  ออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย ที่ดี จะสามารถช่วย ลดต้นทุน ในการ กระบวนการผลิต ได้จริงหรือ? มาแนะนำให้ทุกท่านได้อ่านกันครับ

ออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย

การ ออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียทีดี หมายถึงการ ออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย ที่เหมาะสมกับ ปริมาณน้ำเสีย ที่เกิดจาก กระบวนการผลิต ของท่าน มีการเลือกใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ในการ บำบัดน้ำเสีย ที่มีคุณภาพ มีการเลือกออกแบบและใช้ ระบบบำบัดน้ำเสีย ที่เหมาะสมกับกระบวนการผลิตและ ชนิดของน้ำเสีย ของกิจการของท่าน การออกแบบที่ดีจะไม่ใช้ เครื่องจักร มากเกินความจำเป็น และ ไม่ติดตั้งเครื่องจักรน้อยเกินไป จนทำให้เครื่องจักรทำงานหนักและเกิดการเสื่อมประสิทธิภาพก่อนเวลาอันสมควร ในปัจจุบันหลายๆองค์กร กำลังเจอ ปัญหาเรื่องระบบบำบัดน้ำเสีย ที่ ออกแบบมาผิดพลาด หรือไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งสาเหตุหลักๆเกิดจากการเลือก บริษัทรับออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย ที่ไม่ได้รับการรับรองคุณภาพ โดยบริษัทเหล่านี้จะเลือกวัสดุอุปกรณ์และทำการ ออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย โดยใช้ งบประมาณ น้อยที่สุด โดยไม่ได้คำนึงถึงความถูกต้องและ หลักการ ในการ บำบัดน้ำเสีย ที่สอดคล้องกับลักษณะของ กระบวนารผลิต ของท่านในระยะยาว ดังนั้น สิ่งต่างๆเหล่านี้ สามารถส่งผลให้ ระบบบำบัดน้ำเสีย ของท่านเกิดปัญหากับเครื่องจักรและอาจส่งผลถึงการทำให้ ระบบบำบัดน้ำเสีย ของท่านล่มและต้องเสียเงินค่าปรับอีกด้วย ดังนั้น หากท่านมองในระยะยาว การเลือกที่จะลงทุนเพิ่มขึ้นเพื่อจัดซื้อจัดจ้างบริษัทที่มีประสบการณ์ มีการรับรองคุณภาพในการทำงานใน การออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย แล้ว ปัญหาต่างๆเหล่านี้ก็จะหมดไป อีกทั้งยังสามารถลดต้นทุนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อีกด้วย สุดท้ายนี้ผมอยากจะฝากท่านผู้ประกอบการทุกท่านว่า การเลือก Supplier มาให้บริการนั้น อย่าดูที่ราคาถูกที่สุดแต่ให้ดูที่คุณภาพของงานเป็นหลัก เพราะถ้างานมีคุณภาพแล้ว ย่อมสามารถส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตของระบบของท่านมีประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย ดังนั้น ก่อนจะตัดสินใจลงทุนในการทำ ระบบบำบัดน้ำเสีย ควรเลือกบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ มีคุณภาพ มากกว่าบริษัทที่เสนอราคาถูกที่สุดนะครับ

Water-Treatment-Plant-Design

สุดท้ายนี้ ผม Dr.UBA หวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความนี้ จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านและหากท่านใดมีความสนใจหรือมี ปัญหาเรื่องระบบบำบัดน้ำเสีย สามารถ โทรมาสอบถามกับผม Dr.UBA ได้ที่ เบอร์ 02-7893232 นะครับ พวกเรามีทีมวิศวกรที่มีประสบการณ์คอยให้คำแนะนำครับ นอกจากนี้ ท่านสามารถติดตามบทความน่ารู้และบริการที่เป็นประโยชน์จากเรา UBA ได้ทาง : http://www.facebook.com/UBA.Wastewater.Treatment.Service และทาง Twitter: @ubathailand และเว็บไซต์ www.uba.co.th นะครับ

แล้วพบกันใหม่ บทความหน้า สำหรับวันนี้ ขอบคุณและสวัสดีครับ

uba blog

ขอขอบคุณ

รูปประกอบจาก : https://il-elgin3.civicplus.com, http://www.water-technology.net/, http://house-waterfilter.com

เทคโนโลยีในการบริหารจัดการข้อมูลสำหรับระบบบำบัดน้ำเสีย OMSofts คืออะไร


เทคโนโลยีในการบริหารจัดการข้อมูลสำหรับระบบบำบัดน้ำเสีย OMSofts คืออะไร

monitoring

สวัสดีครับทุกท่าน กลับมาพบกับผม Dr.UBA ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการน้ำและการบำบัดน้ำเสียกันอีกครั้งนะครับ สำหรับบทความในเดือนเมษายนนี้ เราขอนำเสนอเรื่องการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการดูแลและบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียกันนะครับ

sw

โลกในยุคปัจจุบันกำลังเข้าสู่โลกแห่งเทคโนโลยี ซึ่งในปัจจุบันมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพื่อช่วยให้การทำงานของเราง่ายขึ้น ในการบริหารจัดการน้ำและการบำบัดน้ำเสียก็เช่นกัน วันนี้ เราจึงอยากพาทุกท่านมารู้จักกับ ระบบบริหารจัดการข้อมูลของระบบบำบัดน้ำเสียแบบออนไลน์ที่เรียกว่า Online Monitoring Software หรือ OMSofts ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูล จัดทำรายงานต่างๆ และเรียกดูความเคลื่อนไหวและตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสียของท่านได้ตลอด 24 ชม.  ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านการ Log in เข้าระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งการนำเทคโนโลยีนี้เข้ามาใช้ ในระบบบัดน้ำเสียของท่าน จะทำให้เกิดประโยชน์และช่วยให้ลดปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ระบบล่ม เครื่องจักรเสีย หรือค่าน้ำไม่ผ่าน ซึ่งทั้งหมดนี้ จะช่วยให้ท่าน สามารถลดต้นทุนในการแก้ไขปัญหา พร้อมกับเสริมสร้างประสิทธิภาพให้ระบบการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียของท่าน ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพอีกด้วย หากท่านใด สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เทคโนโลยี OMSofts สามารถ เข้าไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.omsofts.com นะครับ แล้วพบกันใหม่ บทความหน้า สำหรับ วันนี้ สวัสดีครับ

36832_Wastewater

Online Monitoring Software for your Wastewater System

Welcome to our UBA Wastewater Treatments blog, I am Dr.UBA who is specialist on water and wastewater management in Thailand so for this monthly article, I will present about the new technology of wastewater management name “ OMSofts”, it’s online monitoring software for your water and wastewater management system.

BluePlains-690

Now a day the internet technology and cloud computing system is become more important and could help the company develop their competency and competitive in the market, in water and wastewater management , the online monitoring software could help your company provide more competitive and reduce cost by generate work sheet and control all system, when you use this software, you can see the report of your system performance everywhere every time via your Smartphone or other internet connection device so you can know about the sign of problem that will occur to your system and it’s could help you to prevent or solving the problem before it’s affect to your hold operation system so if you interest about this software, please click to see more information on www.omsofts.com or contact 02-7893232 ext. 123 we have our expertise to consulting with you.

 

uba blog

 

Special Thank.

Article Reference: UBA Specialist

Picture References: http://www.trustdeal.inhttp://www.aecom.comhttp://img.ehowcdn.comhttp://bernetblog.chhttp://www.meed.com

 

เทคโนโลยีชีวภาพกับการบำบัดน้ำเสีย Biotechnology for waste water treatment


เทคโนโลยีชีวภาพกับการบำบัดน้ำเสีย Biotechnology for waste water treatment 

Research-for-industrial-biotechnology-supported

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน กลับมาพบกับผม Dr.UBA กันอีกครั้งนะครับ หลังจากเมื่อครั้งที่แล้ว เราได้นำเสนอบทความเกี่ยวกับ แนวโน้มของการบำบัดน้ำเสียในปี 2556 ไปแล้ว วันนี้ เราจะขอพูดถึงเรื่องของการนำ ระบบเทคโนโลยีชีวภาพ มาใช้ใน การบำบัดน้ำเสีย กันนะครับ ในปัจจุบัน เทคโนโลยีชีวภาพ ได้ถูกใช้อย่างมากขึ้น ในฐานะ เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Environmentally Sound Technology (EST)) ในหลากหลายการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับ การกำจัดมลภาวะและปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ มากมาย การใช้งานแบบใหม่ๆนั้นรวมถึงส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดน้ำ การบำบัดขยะ (รวมไปถึงพลาสติกที่ย่อยสลายได้) การทำเหมืองชีวภาพ, การเกษตร (การสร้างพืชพันธ์ที่สามารถทนต่อสภาวะอากาศที่เลวร้ายที่สุดได้)

biotechnology-ETFs

ปัจจุบันเหตุผลหลักในการใช้งานเทคโนโลยีชีวภาพคือการทำความสะอาดหรือบำบัดมลภาวะต่างๆ หนึ่งในการใช้งานอย่างแรกๆนั้นก็คือ การทำความสะอาดหรือบำบัดน้ำเสีย ตามมาด้วยการทำความสะอาดอากาศหรือก๊าซต่างๆ เทคโนโลยีชีวภาพจึงได้เป็นส่วนสำคัญส่วนหลักสำหรับการบำบัดน้ำเสีย เนื่องจากการบำบัดทางชีวภาพสามารถรับมือกับน้ำเสียได้อย่างหลากหลายอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการบำบัดน้ำด้วยเคมี หรือ ทางกายภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหมาะสมกับการบำบัดน้ำเสียที่ประกอบด้วยสารประกอบอินทรีย์ทั่วไป ในความเป็นจริงแล้วเทคโนโลยีชีวภาพนี้ได้ถูกใช้ครั้งแรกในการบำบัดน้ำเสียมากกว่า 100 ปีก่อน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา กระบวนการบำบัดแบบใช้อากาศและไร้อากาศก็ได้ถูกพัฒนามาเรื่อยๆ การบำบัดแบบใช้อากาศได้กลายเป็นเทคโนโลยีตั้งต้นสำหรับการบำบัดของเสียที่บำบัดได้ง่ายถึงปานกลาง และสำหรับสารพิษและสารที่บำบัดได้ยากอีกด้วย กระบวนการแบบไร้อากาศเป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการบำบัดของเสียที่มีสารอินทรีย์ประกอบในอัตราที่สูง เช่น น้ำเสียจากกระบวนการผลิตอาหาร, ตะกอนน้ำเสียชุมชน หรือ ของเสียจากกระบวนการเลี้ยงสัตว์

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา กระบวนการบำบัดแบบไร้อากาศ ได้เข้ามาแทนที่ระบบใช้อากาศอย่างเพิ่มมากขึ้นในหลากหลายแนวทางการใช้งาน การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบไร้อากาศนั้นง่ายกว่า ก๊าซที่ได้มีส่วนประกอบของก๊าซเผาไหม้ (ก๊าซมีเทน) มากกว่า และสามารถบำบัดได้ด้วยอัตราที่มากกว่า 80% ปัจจุบันเทคโนโลยีชีวภาพ ได้ถูกนำมาใช้ใน การกำจัดไนเตรท ฟอสเฟต สารโลหะหนัก สสารที่เป็นพิษกันอย่างแพร่หลาย

iStock_000018316374XXXLarge_702x468

ที่ผ่านมาจุดประสงค์หลักในการบำบัดน้ำ คือ การลดสารอินทรีย์เท่านั้น แต่ทุกวันนี้การบำบัดมลภาวะต่างๆจากอุตสาหกรรมได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญหลัก ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนากระบวนการทางชีวภาพสำหรับการกำจัดมลภาวะที่เฉพาะเจาะจงเหล่านี้ อย่างยั่งยืนสืบไป

Green-Chemistry1

Biotechnology for waste water treatment 

Biotechnology is used increasingly as the environmentally sound technology (EST) of choice in many applications, particularly pollution clean-up. It also offers enormous promise in tackling many more environmental problems. New applications are expected to include water treatment, treatment of solid wastes (including biodegradable plastics), bio mining, agriculture (creating plants resistant to the most adverse weather conditions).

schlieren-home-640px

Cleaning up pollution, At present, the main use for biotechnology is to clean up or remedy pollution. One of the first applications was wastewater clean-up, followed by air and off-gas cleaning. Biotechnology is already the dominant technology for wastewater treatment: biological treatment can cope with a wide range of effluents more effectively than chemical or physical methods, and is particularly suitable for treating wastewater containing the more common organic pollutants. In fact, it was first used to treat wastewater more than 100 years ago. Since then, both aerobic and anaerobic processes have been developed. Aerobic treatment has become the established technology for low and medium-strength wastes, and also for toxic and recalcitrant molecules. Anaerobic processes are more effective for highly organic wastes, such as food processing wastewaters, municipal sludges and animal husbandry slurries. During the past ten years, they have begun increasingly to replace aerobic systems in many applications. Anaerobic wastewater treatment plants are more compact, separate carbon compounds as a combustible gas (methane) and can achieve recovery rates of more than 80 per cent. Biotechnological methods are now widely used to remove nitrate, phosphate, heavy metal ions, chlorinated organic compounds and toxic substances.

thumb

The main aim of water treatment used to be to reduce organic matter generally. Nowadays cleaning up industrial pollutants is becoming critically important and this is leading to the development of biological processes for removing specific pollutants in the future.

uba blog

Special Thank.

The Article Credit : UBA Specialist Environmental Engineer

Photo Credit : http://www.european-coatings.com, http://automation.isa.org, http://www.roche.ch, http://www.etftrends.com, http://technologytimesonline.com, http://www.pikeresearch.com

แนวโน้มการบำบัดน้ำเสียในปี 2013 Wastewater Treatment Trends 2013


แนวโน้มการบำบัดน้ำเสียในปี 2013  Wastewater Treatment Trends 2013

wastewater-treatment-532x299

สวัสดีครับ ทุกท่าน กลับมาพบกันอีกครั้งในปี 2556 กับบทความแรกแห่งปีของ UBA Blog ของเรานะครับ วันนี้ ผม Dr.UBA ขอนำเสนอ บทความเรื่อง แนวโน้มของการบำบัดน้ำเสียที่จะเกิดขึ้นในปี 2556 นี้นะครับ ในปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการ ระบบบำบัดน้ำ กับปริมาณและคุณภาพของแหล่งน้ำนั้นกลับสวนทางกัน นั่นหมายความว่า ขณะที่กำลังการผลิตแจกจ่ายน้ำสะอาดยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง เงินลงทุนในส่วนของระบบและสารเคมีที่ใช้ในการบำบัดน้ำนั้นย่อมสูงขึ้นอย่างชัดเจน มากไปกว่านั้นขณะที่แหล่งน้ำสะอาดหายากมากขึ้นๆแน่นอนว่าค่าน้ำก็ย่อมสูงขึ้นตามไปด้วย สิ่งเหล่านี้จึงเป็นสิ่งผลักดันให้เกิดแนวโน้มของการนำน้ำจากอุตสาหกรรมกลับมาใช้ใหม่

กฎข้อบังคับและและความต้องการที่จะลดต้นทุนให้มากที่สุดนั้น เป็นแรงผลักดันพื้นฐานของความพยายามของทั่วโลกที่จะนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ เนื่องจากต้นทุนของค่าน้ำ (ต้นทุนการผลิต, การควบคุม, การแจกจ่าย และพลังงาน) นั้นอยู่ในช่วงปรับตัวสูงขึ้น ปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมส่วนมากจึงพยายามมองหาแนวทางที่จะลดค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของค่าการผลิต ค่าการแจกจ่าย หรือแม้แต่ค่าพลังงานที่ใช้ในการจัดการกับน้ำ การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ถือเป็นโอกาสสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมในการลดต้นทุนดังกล่าวจากเดิมที่ผู้ใช้ในน้ำในโรงงานอุตสาหกรรมใช้น้ำครั้งเดียวแล้วทิ้ง ตอนนี้พวกเขากำลังหาทางใหม่ๆที่จะทำความสะอาดน้ำเสียหรือน้ำทิ้งเหล่านั้นและนำกลับมาใช้ เช่น ใช้เป็นน้ำ Make up ใน Cooling Towers เป็นต้น

cdm_viewpoint_water-treatment_

ขณะเดียวกันชุมชนต่างๆก็มีส่วนผลักดันให้โรงงานอุตสาหกรรมนั้นช่วยกันลดปริมาณการใช้น้ำด้วย การทำ Water Footprint โดยผ่านการใช้น้ำ recycle และ reuse จากทั้งระบบ ultrafiltration และ ระบบ Reverse-Osmosis สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมนั้นกลายเป็นส่วนสำคัญในการลดปริมาณการใช้น้ำ

สำหรับ supplier ที่ขายระบบบำบัดน้ำ เทคโนโลยีต่างๆกับกฎข้อบังคับต่างๆก็มีความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกัน คือ เมื่อกฎข้อบังคับต่างๆเข้มงวดมากขึ้น เทคโนโลยีที่ใช้ก็ก้าวหน้าตามไปด้วยเช่นกัน ผู้ใช้น้ำจากทั้งชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรมก็ล้วนทำงานหนักมากขึ้นที่จะลดปริมาณการใช้สิ่งแวดล้อม สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้การใช้แหล่งน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ระบบบำบัดน้ำด้วยการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและเพิ่มระดับความปลอดภัย ก็ยังพัฒนาไปเรื่อยๆ ผู้จัดหาเทคโนโลยีหรือ supplier เหล่านี้ก็ได้เน้นความสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆที่พร้อมจะทำงานในสภาวะแวดล้อมที่หนักขึ้น ขณะเดียวกับก็ต้องง่ายต่อการควบคุมและดูแล

นอกจากนี้ การบริหารจัดการความรู้ก็เป็นปัจจัยสำคัญในการบำบัดน้ำเพื่อให้ถูกต้องด้วยเทคโนโลยีรุ่นใหม่ๆด้วย

012013-curator-011213-watersewer077

Wastewater Treatment Trends 2013

Hello everybody welcome to the world in 2013 !

The first article of the year from UBA Water & Wastewater Management Blog is about the Wastewater Treatment Trends in 2013 so you can see the trends and understand how to treat your wastewater through reading this article, we hope you enjoy and love our article from the first issue of the year 2013

In the year 2013 the demand for water treatment systems has an inverse relationship to the availability and quality of water resources worldwide. So as the global supply of clean water continues to fall, investment in water treatment chemicals and systems figures to show a marked rise. Likewise, as clean water resources grow more and more scarce, the cost of water goes up, this is driving the trend toward industrial water reuse.

01.09.13_Moorefield_WWTP_Slider

Regulatory mandates and the desire to maximize cost savings are the primary drivers of water reclamation efforts worldwide. The cost of water (acquisition, handling, discharge, and energy costs) is on the rise. Most industrial plants are looking to reduce the expense of water treatment overall, whether it’s acquisition costs, discharge fees, or energy costs to handle water. Water reuse offers industry a significant opportunity to cut cost. Where industrial water users may have at one time discharged water, they are now looking at creative ways to clean their water outputs and reuse it as make-up water for cooling towers, for example.

Municipalities have pushed back on industry to help reduce water consumption – water footprint via recycle and reuse with both ultrafiltration and reverse-osmosisfor industry is becoming a larger player.

5684405655_fce03f0405

For suppliers of water treatment systems, technology efforts and regulatory initiatives have a symbiotic relationship. When regulation is increasing, technology is advancing and municipal and industrial users are working harder than ever to reduce their environmental footprint, this will result in a more efficient use of water resources. Water treatment systems will continue to evolve to reach new levels of energy efficiency, lower environmental impact, and increased safety. Technology provider or suppliers will also focus on developing technologies that are more robust to work under tougher operating environments, as well as easier to monitor and control.

In addition, knowledge management will be at the core of water treatment with more accurate, advanced technologies.”

uba blog

Article Reference: http://www.flowcontrolnetwork.com

Picture References: www.daytondailynews.com, www.chesapeakebay.net, www.cdmsmith.com, www.usa.siemens.com

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๖ Merry X’Mas & Happy New Year 2013


สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๖ Merry X’Mas & Happy New Year 2013

NY3

เนื่องในเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ผม Dr.UBA ก็ขอใช้โอกาสนี้ขอบคุณท่านผู้อ่านทุกท่าน ที่ติดตามและเข้ามาอ่านบทความดีๆเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและการจัดการน้ำเสียของเรานะครับ

NY4

ในโอกาสปีใหม่นี้ ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย โปรดดลบันดาลให้ท่านและครอบครัวประสบแต่ความสุข ความเจริญ มีความสุขกาย สุขใจ กันทุกคนนะครับ แล้วเตรียมพบกับรูปแบบใหม่ของ UBA Wastewater Treatments Blog ของเราได้ในปีหน้านี้ครับ สำหรับวันนี้ ต้องขอลาไปด้วยคำว่า ” สวัสดีปีใหม่ครับ ”

NY6

ประมวล บทความที่น่าสนใจ จาก Dr.UBA Blog ตลอดปี 2555


ประมวล บทความที่น่าสนใจ จาก Dr.UBA Blog ตลอดปี 2555 

SS_green_intro

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันเวลาผ่านไปไวมากๆ วันนี้ UBA Wastewater Treatments Blog ของเราก็เดินทางมาถึงเดือนสุดท้ายของปีกันแล้ว วันนี้ ผม Dr.UBA เลยขอใช้โอกาสนี้ ประมวลบทความต่างๆ ที่เราได้นำเสนอ มาตลอด 1 ปี ให้ทุกท่านได้อ่านและเข้าใจในภาพรวมกันนะครับ

3363954288_d27d11e324

จากต้นปีที่ผ่านมา UBA Wastewater Treatments Blog ของเราได้นำเสนอบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Trend การบำบัดน้ำเสีย และพาทุกท่านมารู้จักกับ บริการบำบัดน้ำเสีย คืออะไร และประกอบด้วยบริการอะไรบ้าง ? จากนั้นเราก็ได้แนะนำเรื่อง กฎหมายสิ่งแวดล้อมน่ารู้ ให้ทุกท่านได้ทำความเข้าใจ พอมาช่วงกลางๆปี เราได้นำเสนอเรื่อง การจัดการน้ำดีสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งนำเสนอการนำบริหารจัดการน้ำสำหรับกระบวนการผลิตที่สำคัญให้ท่านได้อ่านกัน และลำดับต่อมา เราได้นำเสนอเกี่ยวกับ กระบวนการทั่วไปในการผลิตน้ำสะอาด  และ กระบวนการขั้นสูงที่ใช้ในการผลิตน้ำสะอาด พร้อมกันนี้ เรายังได้ให้ความรู้ในเรื่องของ การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ และได้แนะนำเรื่อง กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการมลพิษทางน้ำ ที่ผู้ประกอบการควรรู้ (Thailand Water Pollution Laws) ให้กับผู้ประกอบการทุกท่านได้อ่าน นอกจากนั้นเรายังมีการนำเสนอ บทความเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้านการจัดการน้ำไม่ว่าจะเป็นการ บำบัดน้ำเสีย อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยระบบไอที และ เทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียด้วยเมมเบรน และ เทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ สำหรับน้ำเสียอุตสาหกรรม นอกจากนี้ เรายังมีการนำเสนอถึงโทษของการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม พร้อมกับแนะนำ การจัดการสิ่งแวดล้อม สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ผู้ประกอบการทุกท่านได้เข้าใจ พอมาช่วงส่งท้ายปลายปี เรานำเสนอเรื่อง CSR เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่ผู้ประกอบการทุกท่านควรให้ความสำคัญ และบทความเรื่อง กฎหมายสิ่งแวดล้อมที่สำคัญในปัจจุบัน คือบทความสุดท้ายประจำปีนี้ครับ

MM-Energy-Commodity-Default

จะเห็นได้ว่า ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา เราพยายามนำเสนอบทความต่างๆ ที่สำคัญเกี่ยวกับ ปัญหาสิ่งแวดล้อม การจัดการน้ำและการบำบัดน้ำเสีย เพื่อมุ่งหวังให้เป็นส่วนหนึ่ง ในการให้ความรู้และความเข้าใจ แก่ผู้ประกอบการและบุคคลที่สนใจทุกท่าน สุดท้ายนี้ ผม ในนามของ Dr.UBA ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการน้ำและน้ำเสีย ขอขอบคุณท่านผู้อ่านทุกท่าน ที่ให้ความสนใจและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการใส่ใจโลกและสิ่งแวดล้อม เราหวังว่าจุดเริ่มต้นเล็กๆของ Blog ที่ให้ความรู้ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและการบำบัดน้ำเสียแห่งนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างความรู้ ความเข้าใจและทำให้ทุกภาคส่วน เห็นความสำคัญของปัญหาและผลกระทบจากการก่อมลพิษและการไม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและการปล่อยน้ำเสีย นะครับ แล้วพบกับรูปแบบใหม่ของ UBA Wastewater Treatments Blog 2013 ได้ใหม่ในปีหน้า สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ

uba blog

กฎหมายสิ่งแวดล้อมที่สำคัญในปัจจุบัน


กฎหมายสิ่งแวดล้อมที่สำคัญในปัจจุบัน

waste water

ในประเทศไทย ปัญหาสิ่งแวดล้อมถือว่าเป็นปัญหาระดับชาติ จนในระยะหลัง ต้องมีการระบุแนวนโยบายการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทุกฉบับ ในส่วนของการอธิบายกฎหมายสิ่งแวดล้อมทุกฉบับนั้น ผู้อ่านคงหาอ่านได้โดยง่าย จากคำอธิบายกฎหมายสิ่งแวดล้อม ที่นักวิชาการในมหาวิทยาลัยหลายท่าน ได้เขียนอธิบายไว้โดยละเอียดแล้ว

ในบทความนี้ ผู้เขียนจึงขอกล่าวถึงบทบัญญัติของกฎหมายสิ่งแวดล้อมบ้าง เท่าที่จำเป็นต่อการทำความเข้าใจบทความนี้ ผู้เขียนจึงขอจำกัดประเด็นในการนำเสนอ โดยจะกล่าวแต่เฉพาะภารกิจของศาลยุติธรรม ที่จะใช้กฎหมายในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น โดยผู้เขียน จะได้เปรียบเทียบกับหลักกฎหมายของประเทศ ที่สามารถใช้กฎหมายจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและเป็นธรรมมาแล้ว

WaterHazWaste

๑. กฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เป็นความผิดทางอาญา หรือที่เรียกว่า Environmental Crime นั้น อาจแยกฐานความผิดได้ ๓ ประการ

ประการแรก คือ ความผิดเนื่องจากการก่อให้เกิดมลพิษ

ประการที่สอง คือ ความผิดฐานละเว้นไม่ปฏิบัติตามมาตรการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และ

ประการที่สาม คือ ความผิดฐานกระทำผิดเงื่อนไข ที่เจ้าพนักงานอนุญาตหรือคำเตือนที่เจ้าพนักงานแจ้งให้ทราบ

โดยภาพรวม แล้วกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่มีโทษทางอาญาของประเทศไทย เป็นบทบัญญัติที่สอดคล้องกับทฤษฎีดังกล่าวอยู่แล้ว ข้อที่น่าสังเกตคือ การกระทำที่จะเป็นความผิดกฎหมายอาญาสิ่งแวดล้อมนี้ เนื่องจากเป็นกฎหมายเทคนิค (technical law) กล่าวคือ ที่เป็นความผิดทางอาญาเพราะกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด (Mala prohibita) เช่น ความผิดตามพระราชบัญญัติจราจร ไม่ใช่เพราะเป็นความผิดต่อเมื่อมีเจตนา (Mala in se) อย่างเช่น ความผิดฐานลักทรัพย์

ดังนั้น การกระทำที่จะเป็นความผิดอาญาตามกฎหมายอาญาสิ่งแวดล้อมนี้ จึงควรเป็นความผิดที่ไม่ต้องการเจตนาเป็นองค์ประกอบความผิด

water

๒. กฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เป็นความรับผิดทางแพ่ง กฎหมายที่กล่าวถึงความรับผิดทางแพ่งที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมนั้น ได้แก่

๒.๑ ความรับผิดทางแพ่งตามพระราชบัญญัติซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะ บทบัญญัติที่สำคัญได้แก่ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๓๕ บัญญัติไว้ในมาตรา ๙๖ และมาตรา ๙๗ ซึ่งให้ผู้ที่เป็นต้นเหตุแห่งความเสียหาย ที่เกิดขึ้นแก่สิ่งแวดล้อมและหรือทรัพยากรธรรมชาติ เป็นผู้จ่ายค่าเสียหายทั้งหมด ทั้งนี้เป็นไปตามหลัก “ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย” (The polluter pays principle)

หลักนี้อธิบายได้ว่า ผู้ก่อให้เกิดมลพิษ จะต้องรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง กับการบริหารจัดการระบบการกำจัดมลพิษ เช่น ค่าบำบัดน้ำเสีย ค่าเก็บขยะ นอกจากนี้ จะต้องรับผิดชอบในค่าเสียหาย ที่เป็นผลมาจากมลพิษที่ตนเองก่อให้เกิดด้วย เช่น ค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาดและกำจัดน้ำมันที่รั่วไหลจากโรงงานของตน ที่รัฐต้องจ่ายไป

california-water-faucet-main

มาตรา ๙๖ เป็นความรับผิดในความเสียหายที่ก่อให้เกิดมลพิษ ซึ่งเอกชนที่ได้รับความเสียหาย และรัฐมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน บัญญัติว่า

“แหล่งกำเนิดมลพิษใด ก่อให้เกิดหรือเป็นแหล่งกำเนิดของการรั่วไหล หรือแพร่กระจายของมลพิษ อันเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายหรือสุขภาพอนามัย หรือเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นหรือของรัฐเสียหายด้วยประการใด ๆ เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษนั้น มีหน้าที่ ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายเพื่อการนั้น ไม่ว่าการรั่วไหล หรือแพร่กระจายของมลพิษนั้น จะเกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ของเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษหรือไม่ก็ตาม เว้นแต่ในกรณีที่พิสูจน์ได้ว่า มลพิษเช่นว่านั้น เกิดจาก

(๑)          เหตุสุดวิสัยหรือการสงคราม

(๒)          การกระทำตามคำสั่งของรัฐบาลหรือเจ้าพนักงานของรัฐ

(๓)          การกระทำหรือละเว้นการกระทำของผู้ที่ได้รับอันตราย หรือความเสียหายเองหรือของบุคคลอื่น ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงหรือโดยอ้อม ในการรั่วไหลหรือการแพร่กระจายของมลพิษนั้น

ค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหาย ซึ่งเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ มีหน้าที่ต้องรับผิดตามวรรคหนึ่ง หมายความรวมถึง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ทางราชการ ต้องรับภาระจ่ายจริงในการขจัดมลพิษที่เกิดขึ้นด้วย ”

water

มาตรา ๙๗ เป็นความรับผิดในกรณีความเสียหายเกิดขึ้นกับทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งรัฐเท่านั้นที่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน บัญญัติว่า

“ ผู้ใดกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใด โดยมิชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการทำลายหรือทำให้สูญหายหรือเสียหาย แก่ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นของรัฐหรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่รัฐ ตามมูลค่าทั้งหมดของทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลาย สูญหายหรือเสียหายไปนั้น ”

water-wastewater

๒.๒. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยละเมิด หลักกฎหมายละเมิด ที่ใช้กับความรับผิดทางแพ่งที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่

๒.๒.๑ หลักความรับผิดในผลแห่งละเมิดเนื่องจากการกระทำของตนเอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๔๒๐ ตามมาตรา ๔๒๐ บุคคลที่จะรับผิดในผลแห่งละเมิดนี้ ต้องมีการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อและในมาตรา ๔๒๒ เป็นความรับผิดฐานละเมิด เมื่อมีการกระทำหรืองดเว้นไม่กระทำการ ที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายที่ประสงค์จะปกป้องบุคคลอื่น

green_peace_china_01

กฎหมายสิ่งแวดล้อมเป็นกฎหมายที่ก่อให้เกิดหน้าที่แก่ผู้เกี่ยวข้อง ที่จะต้องปฏิบัติตาม โดยมีวัตถุประสงค์จะปกป้องบุคคลอื่น การละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่หรือบกพร่อง ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ย่อมเป็นการงดเว้นไม่กระทำการตามหน้าที่ ที่ตนต้องทำเป็นการกระทำละเมิด โดยมีเหตุผลพื้นฐานมาจากหน้าที่ที่ระบุไว้ในกฎหมายสิ่งแวดล้อม นั่นเอง ดังนั้น หากผู้ประกอบการท่านใด ไม่ปฏิบัติตาม ย่อมส่งผลเสียและได้รับการลงโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้ นั่นเอง ยังไง ผมก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้ประกอบการทุกท่าน จะให้ความสำคัญและปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆของกฎหมายสิ่งเเวดล้อมกันนะครับ แล้วพบกับผม Dr.UBA ได้ใหม่ โอกาสหน้า สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ

uba blog

ขอขอบคุณ

บทความอ้างอิง จาก : http://www.dlo.co.th/node/252

รูปประกอบ จาก : http://img.ehowcdn.com, http://qualityassurance.synthasite.com, http://www.earthtimes.org, http://www.csrandthelaw.com, http://www.fastcoexist.com, http://lib.bioinfo.pl

CSR เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ตอนที่ 2


CSR เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ตอนที่ 2

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน กลับมาพบกับผม Dr.UBA ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการน้ำและน้ำเสีย กันอีกครั้งนะครับ หลังจากครั้งก่อนเราได้แนะนำ CSR ให้ทุกท่านได้รู้จักกันไปบ้างแล้ว วันนี้ เราจะมานำเสนอถึง ความสำคัญในการทำ CSR ในตอนที่ 2 ให้ทุกท่านได้เข้าใจกันมากขึ้น โดยเราขอยกบทความที่น่าสนใจจากเว็บ CSRI Thai มาให้ทุกท่านได้ทำความเข้าใจและรู้จักกับความสำคัญในการทำ CSR กันนะครับ

ในการประกอบธุรกิจทั่วไป จะพบว่าบางธุรกิจจะขาดจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ เช่น การกดค่าจ้าง การจ้างแรงงานเด็ก การปล่อยของเสียลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ เป็นต้น ซึ่งบริษัทเหล่านั้นอ้างว่าทำไปเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ เพื่อลดต้นทุนของธุรกิจ โดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบที่ตามมา ถ้าบริษัทเหล่านั้นคำนึงถึงสังคมหรือสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จะทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่น และสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน

ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจเป็นสิ่งที่ธุรกิจทำแล้วย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ ทั้งในด้านผลประกอบการและการเข้าถึงเงินทุน ซึ่งแต่เดิมนักธุรกิจส่วนใหญ่จะถูกมองว่าไม่สนใจสิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งสามารถอ้างอิงได้จากงานเขียนของ “Builtto Last” ของ James C.Colins. & Jerry J. Porras. ผลการสำรวจการเปรียบเทียบ 18 บริษัทที่ประสบความสำเร็จในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา พบว่าการแยกความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่ประสบความสำเร็จสูงและต่อเนื่องยาวนาน กับบริษัทที่ประสบความสำเรจบ้างเป็นบางครั้งบางคราว คือการที่บริษัทเหล่านี้มีเป้าหมายที่ไกลกว่าการมุ่งแสวงหากำไรอย่างเป็นรูปธรรมหรือมีนโยบายที่ชัดเจนด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งสามารถนำมาเปรียบเทียบในเชิงมูลค่าได้ คือ เงินมูลค่า 1 ดอลลาร์สหรัฐในปี 1926 ในบริษัทที่ร่วมรับผิดชอบต่อสังคมอย่างเป็นกิจลักษณะ ซึ่งมีผลตอบแทนสูงถึง 6,356 ดอลลาร์สหรัฐในปี 1990 ในขณะที่บริษัทที่มุ่งเน้นเพียงกำไรเป็นหลัก จะมีสถิติความสำเร็จแบบขึ้นๆ ลงๆ และไม่ประสบผลสำเร็จในเชิงรายได้สูงเท่ากับบริษัทกลุ่มแรก กล่าวคือ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 1926 นำมาสู่ผลตอบแทน 955 ดอลลาร์สหรัฐในปี 1990 ซึ่งจะเห็นได้ว่าบริษัทที่มีเป้าหมายมากกว่าเพียงการสร้างกำไรนั้นสามารถสร้างผลตอบแทนระยะยาวได้สูงถึง 6 เท่าของบริษัทที่สนใจแต่เรื่องกำไรแต่เพียงอย่างเดียว

จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดพบว่า การสร้างความเชื่อถือและความสามารถในการประกอบการของธุรกิจมีความเชื่อมโยงกัน โดยพบว่าบริษัทที่สามารถจัดการความสัมพันธ์และความคาดหวังของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นองค์รวมได้จะส่งผลต่อยอดขายมากถึง 4 เท่า และมีการเจริญเติบโตของการจ้างงานถึง 8 เท่าเมื่อเทียบกับบริษัทที่ตอบสนองความต้องการของผู้ถือหุ้นแต่เพียงอย่างเดียว เนื่องจากการทำ CSR ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อสังคม บริษัทที่มีบทบาทแสดงความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่องมีโอกาสจะได้รับการสนับสนุนจากลูกค้ามากกว่าบริษัทที่ไม่ทำเพื่อสังคม และในนิตยสาร Fortune พบว่าความน่าเชื่อถือของบริษัทยังช่วยเพิ่มระยะเวลาที่บริษัทจะสามารถสร้างผลตอบแทนทางการเงินที่สูงกวาค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรมนั้นๆ ได้อย่างต่อเนื่อง

ความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR ยังช่วยสร้างการเรียนรู้และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น Toyota ที่เริ่มผลิตรถHybrid ที่ใช้ได้ทั้งเชื้อเพลิงและไฟฟ้า ซึ่ง Hybrid ปล่อยมลพิษเพียง 10% เมื่อเทียบกับรถปกติ และใช้น้ำมันเพียงครึ่งหนึ่งของปกติ สิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้ทำให้รถเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และกลายเป็นสินค้าตัวใหม่ของบริษัท บริษัท ฮิวเลตต์แพ็คการ์ด ที่เคยให้ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีในชุมชนห่างไกลในอินเดยที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ได้คิดค้นเครื่องพริ้นเตอร์ที่ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องไฟฟ้า ในที่สุดนวัตกรรมนี้ถูกนำมาใช้เป็นสินค้าตัวหนึ่งของบริษัท และองค์กร Play pumps International โดยได้นำเอาความคิดเรื่องการทำเพลย์ปั๊มมาใช้แก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำที่อัฟริกาใต้ ซึ่งทำเพลย์ปั๊มเป็นม้าหมุนสำหรับเด็กที่ช่วยสูบน้ำสะอาดสำหรับการอุปโภคบริโภคจากบ่อใต้ดินไปที่แทงค์เก็บน้ำ และทุกๆ ครั้งที่เด็กๆ หมุนเล่นก็จะเป็นการปั๊มน้ำจากแทงค์น้ำนี้ โดยได้เชื่อมต่อกับท่อน้ำในชุมชนเพื่อให้ทุกคนได้มีน้ำสะอาดใช้ ซึ่งถือเป็นตัวอย่างทดของนวัตกรรมทางวัตถุอุปกรณ์ที่ให้ทั้งความสนุกสนานและประโยชน์ ให้พื้นที่เล่นสนุกแก่เด็กๆ ในขณะที่ยังให้น้ำสะอาดปลอดภัยแก่ชาวบ้านกว่าล้านคนในชุมชนห่างไกลหลายแห่ง เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม หลายคนมองว่า CSR เป็นสิ่งที่เพิ่มต้นทุนของธุรกิจ แต่ในระยะยาวกลับปรากฎว่าการจัดกระบวนการผลิตที่สอดคล้องกับแนวคิด CSR จะช่วยในการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน เช่น บริษัท ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น มีโครงการลดการใช้ไฟฟ้าโดยการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ของบริษัทเมื่อปี 2547 ทำการเปลี่ยนหลอดไฟ 30 สาขาเป็นหลอดประหยัดพลังงานใช้บัลลาสต์ อิเล็กทรอนิกส์ และบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ เพียง 8 เดือน การเก็บตัวเลขพบว่าประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 90 ล้านบาท จะเห็นได้ว่าการดำเนินงาน CSR ได้ช่วยให้บริษัทลดของเสียในกระบวนการผลิตได้อย่างมากรวมทั้งในปัจจุบันกระแสการทำ CSR ของบริษัทข้ามชาติต่างๆ กำลังเป็นกระแสทั่วโลก ซึ่งบริษัทที่ทำกิจกรรม CSR ย่อมได้เปรียบกว่าบริษัทที่ไม่ทำ CSR ในด้านต่างๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้น ซึ่งเป็นผลให้รัฐวิสาหกิจเริ่มให้ความสนใจกับการทำกิจกรรม CSR ไม่ว่าจะเป็นธนาคารของรัฐต่างๆ การไฟฟ้า เป็นต้น ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการตอบแทนสังคมมากขึ้นอีกด้วย

สุดท้ายนี้ หากท่านผู้ประกอบการท่านใด สนใจหรือต้องการสอบถามข้อมูลเรื่องการทำ CSR ให้กับองค์กร สามารถติดต่อได้ที่ UBA Hotline: 02-7893232 หรือที่ http://www.uba.co.th นะครับ แล้วพบกับผม Dr.UBA ได้ใหม่ ในครั้งหน้า สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ

 

ขอขอบคุณ

บทความจาก : http://www.csri.or.th

รูปประกอบจาก : http://www.mutualtrustbank.com, http://blogs.welingkar.org, http://beyondprofit.com, http://www.csr-matrix.com

CSR เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ตอนที่ 1


CSR เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ตอนที่ 1

 

สวัสดีครับเพื่อนๆ กลับมาพบกับผม Dr.UBA กันอีกครั้งนะครับ สำหรับ บทความประจำเดือนพฤศจิกายน ฉบับนี้ เราขอนำเสนอ เรื่อง ความสำคัญของ CSR เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มาให้เพื่อนๆ ได้ลองอ่านกันนะครับ จะเห็นได้ว่าในปัจจุบัน หลายๆองค์กร ได้ให้ความสำคัญในการทำ CSR อย่างจริงจัง ทั้งในส่วนของภายในองค์กรและภายนอกองค์กร ในชุมชนและสังคมโดยรวม ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ดีในการเริ่มต้น ในการใส่ใจเรื่องผลกระทบด้านสิ่งเเวดล้อมนะครับ วันนี้ ผม Dr.UBA จึงอยากจะนำเสนอบทความบางส่วน ที่พูดถึงความสำคัญของการทำ CSR มาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันครับ โดยบทความนี้ ขออ้างอิงมาจาก บทความเรื่อง ” ความสำคัญในการทำ CSR ” จากเว็บ csri.or.th นะครับ

แนวคิดทางธุรกิจเรื่อง CSR นั้นเริ่มเป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับโลกมากขึ้น โดยในการประชุม World Economic Forum ประจำปี 2542 นาย Kofi Annan เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (UN) ร่วมกับ 5 หน่วยงานของ UN (ILO, UNDP, UNEP, UNCHR, UNIDO) และภาคธุรกิจ ได้ออกบัญญัติ 9 ประการ ที่เรียกว่า “The UN Global Compact” ซึ่งแบ่งเป็น 3 หมวดหลัก คือ หมวดสิทธิมนุษยชน มาตรฐานแรงงาน และสิ่งแวดล้อม และต่อมาได้เพิ่มบัญญัติที่ 10 คือ หมวดการต่อต้านคอร์รัปชั่นไว้ด้วย ซึ่งปัจจุบันมีองค์กรธุรกิจจากทั่วโลกเป็นสมาชิกของ UN Global Compact รวม 1,861 บริษัท (เป็นบริษัทในประเทศไทย 13 บริษัท) และเมื่อเดือนกันยายน 2547 International Organization for Standardization (ISO) ได้ตกลงร่วมกันที่จะร่างมาตรฐาน “ISO-Social Responsibility” เพื่อให้การรับรององค์กรธุรกิจที่สามารปฏิบัติตามแนวคิด CSR ซึ่งองค์กรที่ได้รับใบรับรองมาตรฐานดังกล่าว จะเป็นการช่วยเสริมภาพลักษณ์ของสินค้าหรือบริการขององค์กร และยังช่วยให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในการซื้อสินค้าหรือบริการขององค์กรนั้น ซึ่งในอนาคตมีแนวโน้มว่า หากองค์กรใดไม่ปฏิบัตตามแนวคิด CSR อาจเกิดปัญหาในการทำการค้ากับกลุ่มประเทศ/บริษัทที่ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามแนวนี้

ในประเทศไทยเองก็เช่นเดียวกันที่ให้ความสำคัญกับแนวคิดการดำเนินธุรกิจโดยยึดหลัก CSR มากขึ้น เนื่องจากเล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และมีความคาดหวังจาก Supplier ว่าต้องมีมาตรฐาน CSR ด้วย อย่างเช่น เมื่อเดือนมีนาคม 2552 ที่ผ่านมา นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้แนะนำผู้ทำธุรกิจการค้าไทยว่าควรที่จะนำมาตรการดูแลสังคม หรือ CSR ด้านการจัดการ Supply Chain ไปปฏิบัติกับบริษัทคู่ค้าทั้งในและต่างประเทศ เพราะขณะนี้สภาการค้าต่างประเทศญี่ปุ่นได้เห็นชอบให้นำมาตรการ CSR ด้านการจัดการ Supply Chain มาใช้แล้ว โดยกำหนดให้ต้องดำเนินการใน 7 เรื่อง อาทิ การเคารพสิทธิมนุษยชนของลูกจ้าง การป้องกันการกดขี่ข่มเหงแรงงาน การรักษาความปลอดภัย สุขลักษณะและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีแก่ลูกจ้าง ซึ่งการกำหนด CSR ด้านการจัดการ Supply Chain เกิดจากการที่คณะกรรมการศึกษามาตรการ CSR ของสภาการค้าต่างประเทศญี่ปุ่นได้วิจยแนวโน้มการปฏิบัติตามมาตรการ CSR ของอุตสาหกรรมทั้งภายในและต่างประเทศ โดยสำรวจความคิดเห็นบริษัทต่างๆ รวมถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และพบว่ากลุ่มบริษัทการค้าของญี่ปุ่นได้เริ่มนำมาตรการ CSR ด้านการจัดการ Supply Chain มาปฏิบัติ จนนำมาสู่การกำหนด 7 มาตรการดังกล่าว เป็นต้น

จากการสำรวจทัศนคติของผู้บริโภคเกี่ยวกับการรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคมของสถาบันคีนันแห่งเอเชียร่วมกับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์พบว่าผู้บริโภค 60% เลือกที่จะซื้อสินค้าและบริการจากธุรกิจที่ร่วมรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยของพนักงานและลูกค้า หรือช่วยระดมทุนเพื่อช่วยเหลือสังคม นอกจากนั้น 59% ยังแสดงความต้องการที่จะซื้อสินค้าและบริการที่รับผิดชอบต่อสังคม แม้จะต้องจ่ายเงินเพิ่มก็ตาม 73% จะเลือกซื้อจากบริษัทที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมมากเกินไป และ 87% ยังจะแนะนำสินค้าบริการที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมให้ครอบครัวและญาติพี่น้อง

การที่บริษัทต่างๆ ให้ความสำคัญกับการปฎิบัติตามหลัก CSR นั้น ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจได้เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการทำให้สังคมยอมรับ ทั้งกับผู้บริโภค supplier หรือแม้กระทั่งคู่แข่งในการดำเนินธุรกิจของบริษัท การที่บริษัทดำเนินกิจการโดยใส่ใจกับสังคมและสิ่งแวดล้อมนั้น ย่อมส่งผลให้บริษัทสามารถได้รับโอกาสจากประชาชน แม้ในยามภาวะวิกฤตร้ายแรงก็ตาม รวมทั้งบริษัทยังสามารถเข้าไปศึกษาหรือมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐาน กลไกต่างๆ ของรัฐอีกด้วย ในขณะเดียวกัน ในกลุ่มบริษัทที่ไม่สนใจผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม อาจส่งผลต่อความเสี่ยงที่จะโดนมาตรการต่างๆ ของภาครัฐ ประชาสังคม และจากต่างประเทศในการยอมรับสินค้านั้นๆ

การทำ CSR ยังเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน และสร้างจุดยืนทางการตลาดแก่ธุรกิจด้วย ซึ่งในประเทศอังกฤษ 92% ของผู้บริโภคเชื่อว่า บริษัทควรมีมาตรฐานแรงงานสำหรับ supplier ด้วย และ 14% กล่าวว่าความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทนำไปสู่การตัดสินใจซื้อสินค้าของตนซึ่งแนวคิดเช่นนี้กำลงแผ่ขยายไปทั่วโลกในการวิจัยด้านทัศนคติของผู้บริโภคต่อการรับผิดชอบต่อสังคม ได้ ทำการวิจัยกลุ่มคนกว่า 25,000 คน ใน 26 ประเทศ (งานวิจยโดย IpsosMori) พบวาผู้บริโภคส่วนใหญ่พัฒนาความคาดหวังและความประทับใจต่อบริษัทต่างๆ มาจากปัจจัยด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทมากกว่าการสร้างตราสินค้า (brand) หรือความสำเร็จทางการเงินของบริษัทนั้นๆ นั่นเอง

เป็นอย่างไรบ้างครับ ตอนนี้ ผมเชื่อว่า เพื่อนๆ หลายๆคน คงเห็นถึงความสำคัญในการทำ CSR กันบ้างแล้ว แล้วในบทความครั้งต่อไป ผมจะนำเสนอ บทความ เรื่อง CSR เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ตอนที่ 2 ที่จะเพิ่มความเข้าใจถึงมุมมองการทำ CSR ให้กว้างขึ้นนะครับ อย่าลืมติดตามกันได้ ปลายเดือนนี้ครับ สุดท้ายนี้ ผม Dr.UBA หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เพื่อนๆ ผู้ประกอบการทุกท่านจะใส่ใจและให้ความสำคัญในการทำธุรกิจที่คำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและเข้าใจหลักการณ์ที่ถูกต้องในการทำ CSR นะครับ หากเพื่อนๆ มีปัญหาหรือต้องการสอบถามข้อมูลและบริการเกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสีย การผลิตน้ำดี และการทำ CSR สามารถ โทรมาสอบถามและขอรับบริการได้ที่ ยูบีเอ ฮอตไลน์ 02-7893232 หรือเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.uba.co.th นะครับ สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ

ขอขอบคุณ

บทความอ้างอิง จาก : http://www.csri.or.th

รูปประกอบ จาก : http://www.tcdcconnect.com, http://sphotos-a.xx.fbcdn.net, http://1.bp.blogspot.com/

 

การจัดการสิ่งแวดล้อม สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม อย่างมีประสิทธิภาพ ตอนที่ 2


การจัดการสิ่งแวดล้อม สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม อย่างมีประสิทธิภาพ ตอนที่ 2

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน กลับมาพบกับผม Dr.UBA กันอีกครั้งนะครับ หลังจากครั้งที่แล้ว เราได้นำเสนอ บทความ เรื่อง การจัดการสิ่งแวดล้อม สำหรับ โรงงานอุตสาหกรรม อย่างมีประสิทธิภาพ ในตอนที่ 1 ไปแล้วนั้น วันนี้ เราจะมาต่อกัน ในตอนที่ 2 นะครับ

การจัดการให้มีประสิทธิภาพต้องทำแบบครบวงจร โดยใช้เทคโนโลยีสะอาดเข้ามาช่วยจัดการ  คือ การปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต หรือผลิตภัณฑ์เพื่อให้การใช้วัตถุดิบ พลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้เป็นของเสียน้อยที่สุด หรือไม่มีเลย และการลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด รวมถึงการเปลี่ยนวัตถุดิบ การใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งจะช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและลดต้นทุนการผลิตไปพร้อมกันและต้องมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์

สามารถนำเทคโนโลยีการจัดการนี้ไปใช้ได้ทุกส่วนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมตั้งแต่ กระบวนการผลิต จนกระทั้งการจัดการของเสียที่เกิดขึ้น เช่น น้ำเสียจากอุตสาหกรรม ซึ่งการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในการจัดการผู้ประกอบการจะได้ประโยชน์ที่สำคัญหลักๆ 2 ประการ คือ ประโยชน์เชิงธุรกิจ / กำไร (Economic Benefit) สามารถคำนวนได้เป็นกำไร (บาท/ปี) และประโยชน์เชิงสิ่งแวดล้อม (Environmental Benefit) สามารถคำนวนได้เป็น ปริมาณทรัพยากรที่ใช้ลดลง (หน่วย/ปี)  และ/หรือ ปริมาณของเสียที่ลดลง (หน่วย/ปี)

“การจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด

ซึ่งเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม และการลดค่าใช้จ่ายในการผลิตไปพร้อมกัน”

ขอขอบคุณ

บทความจาก : Dr.UBA ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการน้ำและน้ำเสีย , http://www.uba.co.th

รูปประกอบจาก : http://homexcite.com , http://uanews.org/http://www.hihostels.com/http://res.images.picsquare.com