CSR เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ตอนที่ 1

 

สวัสดีครับเพื่อนๆ กลับมาพบกับผม Dr.UBA กันอีกครั้งนะครับ สำหรับ บทความประจำเดือนพฤศจิกายน ฉบับนี้ เราขอนำเสนอ เรื่อง ความสำคัญของ CSR เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มาให้เพื่อนๆ ได้ลองอ่านกันนะครับ จะเห็นได้ว่าในปัจจุบัน หลายๆองค์กร ได้ให้ความสำคัญในการทำ CSR อย่างจริงจัง ทั้งในส่วนของภายในองค์กรและภายนอกองค์กร ในชุมชนและสังคมโดยรวม ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ดีในการเริ่มต้น ในการใส่ใจเรื่องผลกระทบด้านสิ่งเเวดล้อมนะครับ วันนี้ ผม Dr.UBA จึงอยากจะนำเสนอบทความบางส่วน ที่พูดถึงความสำคัญของการทำ CSR มาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันครับ โดยบทความนี้ ขออ้างอิงมาจาก บทความเรื่อง ” ความสำคัญในการทำ CSR ” จากเว็บ csri.or.th นะครับ

แนวคิดทางธุรกิจเรื่อง CSR นั้นเริ่มเป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับโลกมากขึ้น โดยในการประชุม World Economic Forum ประจำปี 2542 นาย Kofi Annan เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (UN) ร่วมกับ 5 หน่วยงานของ UN (ILO, UNDP, UNEP, UNCHR, UNIDO) และภาคธุรกิจ ได้ออกบัญญัติ 9 ประการ ที่เรียกว่า “The UN Global Compact” ซึ่งแบ่งเป็น 3 หมวดหลัก คือ หมวดสิทธิมนุษยชน มาตรฐานแรงงาน และสิ่งแวดล้อม และต่อมาได้เพิ่มบัญญัติที่ 10 คือ หมวดการต่อต้านคอร์รัปชั่นไว้ด้วย ซึ่งปัจจุบันมีองค์กรธุรกิจจากทั่วโลกเป็นสมาชิกของ UN Global Compact รวม 1,861 บริษัท (เป็นบริษัทในประเทศไทย 13 บริษัท) และเมื่อเดือนกันยายน 2547 International Organization for Standardization (ISO) ได้ตกลงร่วมกันที่จะร่างมาตรฐาน “ISO-Social Responsibility” เพื่อให้การรับรององค์กรธุรกิจที่สามารปฏิบัติตามแนวคิด CSR ซึ่งองค์กรที่ได้รับใบรับรองมาตรฐานดังกล่าว จะเป็นการช่วยเสริมภาพลักษณ์ของสินค้าหรือบริการขององค์กร และยังช่วยให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในการซื้อสินค้าหรือบริการขององค์กรนั้น ซึ่งในอนาคตมีแนวโน้มว่า หากองค์กรใดไม่ปฏิบัตตามแนวคิด CSR อาจเกิดปัญหาในการทำการค้ากับกลุ่มประเทศ/บริษัทที่ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามแนวนี้

ในประเทศไทยเองก็เช่นเดียวกันที่ให้ความสำคัญกับแนวคิดการดำเนินธุรกิจโดยยึดหลัก CSR มากขึ้น เนื่องจากเล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และมีความคาดหวังจาก Supplier ว่าต้องมีมาตรฐาน CSR ด้วย อย่างเช่น เมื่อเดือนมีนาคม 2552 ที่ผ่านมา นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้แนะนำผู้ทำธุรกิจการค้าไทยว่าควรที่จะนำมาตรการดูแลสังคม หรือ CSR ด้านการจัดการ Supply Chain ไปปฏิบัติกับบริษัทคู่ค้าทั้งในและต่างประเทศ เพราะขณะนี้สภาการค้าต่างประเทศญี่ปุ่นได้เห็นชอบให้นำมาตรการ CSR ด้านการจัดการ Supply Chain มาใช้แล้ว โดยกำหนดให้ต้องดำเนินการใน 7 เรื่อง อาทิ การเคารพสิทธิมนุษยชนของลูกจ้าง การป้องกันการกดขี่ข่มเหงแรงงาน การรักษาความปลอดภัย สุขลักษณะและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีแก่ลูกจ้าง ซึ่งการกำหนด CSR ด้านการจัดการ Supply Chain เกิดจากการที่คณะกรรมการศึกษามาตรการ CSR ของสภาการค้าต่างประเทศญี่ปุ่นได้วิจยแนวโน้มการปฏิบัติตามมาตรการ CSR ของอุตสาหกรรมทั้งภายในและต่างประเทศ โดยสำรวจความคิดเห็นบริษัทต่างๆ รวมถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และพบว่ากลุ่มบริษัทการค้าของญี่ปุ่นได้เริ่มนำมาตรการ CSR ด้านการจัดการ Supply Chain มาปฏิบัติ จนนำมาสู่การกำหนด 7 มาตรการดังกล่าว เป็นต้น

จากการสำรวจทัศนคติของผู้บริโภคเกี่ยวกับการรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคมของสถาบันคีนันแห่งเอเชียร่วมกับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์พบว่าผู้บริโภค 60% เลือกที่จะซื้อสินค้าและบริการจากธุรกิจที่ร่วมรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยของพนักงานและลูกค้า หรือช่วยระดมทุนเพื่อช่วยเหลือสังคม นอกจากนั้น 59% ยังแสดงความต้องการที่จะซื้อสินค้าและบริการที่รับผิดชอบต่อสังคม แม้จะต้องจ่ายเงินเพิ่มก็ตาม 73% จะเลือกซื้อจากบริษัทที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมมากเกินไป และ 87% ยังจะแนะนำสินค้าบริการที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมให้ครอบครัวและญาติพี่น้อง

การที่บริษัทต่างๆ ให้ความสำคัญกับการปฎิบัติตามหลัก CSR นั้น ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจได้เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการทำให้สังคมยอมรับ ทั้งกับผู้บริโภค supplier หรือแม้กระทั่งคู่แข่งในการดำเนินธุรกิจของบริษัท การที่บริษัทดำเนินกิจการโดยใส่ใจกับสังคมและสิ่งแวดล้อมนั้น ย่อมส่งผลให้บริษัทสามารถได้รับโอกาสจากประชาชน แม้ในยามภาวะวิกฤตร้ายแรงก็ตาม รวมทั้งบริษัทยังสามารถเข้าไปศึกษาหรือมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐาน กลไกต่างๆ ของรัฐอีกด้วย ในขณะเดียวกัน ในกลุ่มบริษัทที่ไม่สนใจผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม อาจส่งผลต่อความเสี่ยงที่จะโดนมาตรการต่างๆ ของภาครัฐ ประชาสังคม และจากต่างประเทศในการยอมรับสินค้านั้นๆ

การทำ CSR ยังเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน และสร้างจุดยืนทางการตลาดแก่ธุรกิจด้วย ซึ่งในประเทศอังกฤษ 92% ของผู้บริโภคเชื่อว่า บริษัทควรมีมาตรฐานแรงงานสำหรับ supplier ด้วย และ 14% กล่าวว่าความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทนำไปสู่การตัดสินใจซื้อสินค้าของตนซึ่งแนวคิดเช่นนี้กำลงแผ่ขยายไปทั่วโลกในการวิจัยด้านทัศนคติของผู้บริโภคต่อการรับผิดชอบต่อสังคม ได้ ทำการวิจัยกลุ่มคนกว่า 25,000 คน ใน 26 ประเทศ (งานวิจยโดย IpsosMori) พบวาผู้บริโภคส่วนใหญ่พัฒนาความคาดหวังและความประทับใจต่อบริษัทต่างๆ มาจากปัจจัยด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทมากกว่าการสร้างตราสินค้า (brand) หรือความสำเร็จทางการเงินของบริษัทนั้นๆ นั่นเอง

เป็นอย่างไรบ้างครับ ตอนนี้ ผมเชื่อว่า เพื่อนๆ หลายๆคน คงเห็นถึงความสำคัญในการทำ CSR กันบ้างแล้ว แล้วในบทความครั้งต่อไป ผมจะนำเสนอ บทความ เรื่อง CSR เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ตอนที่ 2 ที่จะเพิ่มความเข้าใจถึงมุมมองการทำ CSR ให้กว้างขึ้นนะครับ อย่าลืมติดตามกันได้ ปลายเดือนนี้ครับ สุดท้ายนี้ ผม Dr.UBA หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เพื่อนๆ ผู้ประกอบการทุกท่านจะใส่ใจและให้ความสำคัญในการทำธุรกิจที่คำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและเข้าใจหลักการณ์ที่ถูกต้องในการทำ CSR นะครับ หากเพื่อนๆ มีปัญหาหรือต้องการสอบถามข้อมูลและบริการเกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสีย การผลิตน้ำดี และการทำ CSR สามารถ โทรมาสอบถามและขอรับบริการได้ที่ ยูบีเอ ฮอตไลน์ 02-7893232 หรือเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.uba.co.th นะครับ สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ

ขอขอบคุณ

บทความอ้างอิง จาก : http://www.csri.or.th

รูปประกอบ จาก : http://www.tcdcconnect.com, http://sphotos-a.xx.fbcdn.net, http://1.bp.blogspot.com/