สวัสดีค่ะทุกๆท่าน กลับมาพบกับดิฉัน Dr.UBA กันอีกครั้งนะคะ วันนี้ จะขอนำเสนอบทความเกี่ยวกับกระบวนการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางชีวภาพนะคะ

กระบวนการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางชีวภาพ

กระบวนการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางชีวภาพโดยอาศัยจุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำเสีย สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กระบวนการใหญ่คือ กระบวนการแบบใช้อากาศ (aerobic digestion) และกระบวนการแบบไร้อากาศ (anaerobic digestion)

·     

กระบวนการแบบใช้อากาศ
สารอินทรีย์ถูกย่อยสลายไปเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และมีการสร้างเซลล์จุลินทรีย์ขึ้นจำนวนมาก (ประมาณร้อยละ50 ของสารอินทรีย์ในน้ำเสียถูกเปลี่ยนเป็นเซลล์ของจุลินทรีย์)

แต่มีข้อเสียคือต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบำบัดสูง เนื่องจากต้องมีการพ่นอากาศให้กับระบบ และยังต้องกำจัดตะกอนจุลินทรีย์ส่วนเกิน นอกจากนี้กระบวนการบำบัดแบบนี้ไม่สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กับน้ำเสียที่มีปริมาณสารอินทรีย์สูงมากๆ เนื่องจากมีข้อจำกัดในการให้ออกซิเจนอย่างเพียงพอกับระบบ

กระบวนการบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศ

กระบวนการนี้สารอินทรีย์ในน้ำเสียประมาณร้อยละ 80-90 ถูกย่อยสลายเป็นก๊าซมีเทน และคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งรวมเรียกว่า ก๊าซชีวภาพ (Biogas)

ระบบดังกล่าวนี้ จุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายมีการเจริญเติบโตค่อนข้างช้าทำให้ระบบเริ่มต้น (Start up) ได้ช้า อีกทั้งประสิทธิภาพของระบบในการบำบัดต่ำจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการกักเก็บของเหลว (Hydraulic Retention Time; HRT) นานขึ้น ระบบบำบัดจึงมีขนาดใหญ่ นอกจากนี้ระบบยังมีการปรับตัวไม่ดีนักต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม และในระหว่างกำจัดบางครั้งอาจมีก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen Sulfide) เกิดขึ้นด้วย ทำให้มีกลิ่นเหม็น ระบบนี้จึงมีข้อจำกัดการใช้งาน แต่เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับระบบบำบัดแบบใช้อากาศ พบว่า มีข้อดีและข้อเสียดังนี้

ข้อดี ข้อเสีย
1. ใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำ
2. มีการเกิดตะกอนส่วนเกินน้อยมาก
3. ต้องการสารอาหารโดยเฉพาะ N, P ต่ำ
4. สามารถเก็บเชื้อจุลินทรีย์ไว้ได้นาน
5. ได้ก๊าซชีวภาพมาเป็นพลังงาน
6. ไม่ต้องการเติมออกซิเจนให้กับระบบ ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดสามารถย่อยสลายxenobiotic compounds เช่น hlorinated aliphatic hydrocarbons และ lignin ได้
7. สามารถรับน้ำเสียที่มีความเข้มข้นของสารอินทรีย์สูงๆ ได้
1. เชื้อจุลินทรีย์เจริญเติบโตช้า
2. การเริ่มต้นระบบใช้เวลานาน
3. เสถียรภาพของระบบต่ำ
4. กลิ่นและแมลงรบกวน
(ถ้าเป็นระบบเปิด)

ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาระบบนี้ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และ ยังมีการนำก๊าซชีวภาพกลับไปใช้เป็นพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้มีการนำกระบวนการบำบัดแบบไม่ใช้อากาศมาใช้ในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมกันมากขึ้น ทั้งนี้เพราะนอกจากช่วยในการบำบัดแล้ว ยังให้ผลิตภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ด้วย

สุดท้ายนี้ หากท่านผู้ประกอบการ ท่านใด มีความสนใจ หรือความต้องการ ด้านการบริหารจัดการน้ำเสีย แบบครบวงจร ที่มีมาตรฐานสากล สามารถ ติดต่อขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญของ UBA ได้ที่ info@uba.co.th แล้วพบกับดิฉัน Dr.UBA ได้ใหม่ ใน บทความครั้งต่อไป สำหรับวันนี้ สวัสดีค่ะ

ขอขอบคุณ

ที่มาบทความ:

มูลนิธิพลังงานสีเขียว, http://efe.or.th

ที่มารูปภาพ :

http://www.thonburi-home.com/images/column_1257751259/cov01531.jpg

http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/235/39235/images/IMG_8894.jpg

http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/235/39235/images/IMG_8898.jpg